น้ำพริกน้ำปู๋ |
I love Chiang Rai
เที่ยววัด ไหว้พระ อาหารเหนือ (ล้านนา) จังหวัดเชียงราย
วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2554
วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2554
อาหารเมืองเหนือ(ล้านนา)
ไส้อั่ว
เป็นอาหารพื้นบ้านที่รู้จักกันดีของคนภาคเหนือ นิยมรับประทานกับข้าวเหนียวหรือ รับประทาน คู่กับน้ำพริกก็ได้ ปัจจุบันเป็นอาหารหลักของงานขันโตกแบบพื้นเมืองล้านนาที่ใช้ต้อนรับแขกเมือง
วิธีการทำ
1. ล้างไส้อ่อนให้สะอาดแล้วรูดเอาไส้ชั้นในออก ทางตำราให้การล้างด้วยน้ำเกลือ เพื่อให้สะอาดและลดกลิ่นคาว
2. ส่วนผสมของไส้อั่วมีเนื้อหมูสับ ควรเป็นเนื้อติดมันเล็กน้อย หรือเนื้อติดมันที่คอเพราะจะทำให้ ไส้อั่วมีมันบ้าง เวลารับประทานกับข้าวเหนียวจะคล่องคอ ไม่นิยมใช้เนื้อล้วน ๆ เพราะจะทำให้ ไส้อั่วแห้ง
เครื่องปรุง
ตะไคร้ พริกแห้ง เกลือ กะปิ หอม กระเทียม ขมิ้นเล็กน้อย เพื่อให้สีสวย
ส่วนผสมจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณของเนื้อหมู นำเอาเครื่องปรุงเหล่านี้มาโขลกให้ละเอียด
แล้วนำมาคลุกกับเนื้อหมูให้เข้ากัน ปรุงรสให้พอดีตามชอบ
3.เมื่อคลุกเคล้าได้ที่แล้วนำมายัดในไส้อ่อน จากนั้นนำมาขดเป็นวงกลม ใช้ไม้คีบเพื่อให้ยกพลิกไปมาได้สะดวก นำมาปิ้งหรือรมควันโดยใช้กาบมะพร้าวเป็นเชื้อเพลิง หากมีกากมะพร้าวที่คั้นกะทิแล้วมาโรยเป็นระยะ ๆ ก็จะทำให้ไส้อั่วหอมน่ารับประทานยิ่งขึ้น เตาสำหรับปิ้งไส้อั่วนั้นจะทำเป็นพิเศษ ใช้สังกะสีขดเป็นวงกลมเพื่อให้เก็บความร้อนได้ไส้อั่วจะสุกเร็วขึ้น ขณะที่ปิ้งไส้อั่วนั้นจะต้องพลิกไปมาอยู่เสมอเพื่อให้สุกได้ทั่วถึงกัน ขณะที่ปิ้งอยู่นั้นต้องคอยสังเกตดูว่าไส้อั่วพองตัว จะต้องคอยใช้เข็มหรือของแหลมจิ้มให้น้ำมันไหลออกเสมอ มิฉะนั้นจะทำให้ไส้อั่วแตก ไม่สวย
วันอังคารที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2554
วัดพระธาตุจอมแจ้ง อำเภอแม่สรวย
พระธาตุจอมแจ้ง ที่ตั้ง วัดพระธาตุจอมแจ้ง ตำบลแม่สรวย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
ประวัติพระธาตุ วัดพระธาตุจอมแจ้งเป็นวัดเก่าแก่มาแต่โบราณ ตามตำนานกล่าว่า มีพระมหาเถระเจ้ารูปหนึ่งได้เดินทางจาริกเทศนาสั่งสอนพุทธศาสนิกชน เพื่อเป็นการประกาศพุทธศาสนามาจนถึงสถานที่แห่งนี้จนถึงรุ่งแจ้งสว่างพอดี เมื่อปี พ.ศ. ๒oo๑ จึงได้ขอวานตาแก่คนหนึ่งที่ปฏิบัติธรรม เฝ้ารักษาพระธาตุแห่งนี้ให้ไปตักน้ำที่แม่น้ำซ่วยขึ้นมาล้างหน้า และได้พักอยู่ที่นี่ ๗ วัน ก่อนที่จะเดินทางต่อไปได้มอบพระบรมสารีริกธาตุให้ตาแก่คนนั้นนำไปบรรจุลงในพระธาตุจนเป็นที่สำเร็จลุล่วงแล้วจึงเดินทางจาริกต่อไป และยังได้ทำนายไว้ว่าสมัยต่อไปข้างหน้านี้ ชาวบ้านจะเรียกสถานที่แห่งนี้ว่า “พระธาตุจอมแจ้ง” ส่วนแม่น้ำซ่วยนั้น ชาวบ้านจะเรียกเปลี่ยนไปว่า “แม่น้ำสรวย” ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๘๒ หลวงพ่ออดุลสีหวัตต์ (สิงห์คำ) ได้มาดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลแม่สรวย และเป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุจอมแจ้ง ได้เทศนาอบรมประชาชนให้มีความเชื่อถือเลื่อมใสในองค์พระธาตุแน่นแฟ้นขึ้นจนประชาชนในเขตอำเภอแม่สรวยได้จัดงานบุญประเพณีทุกวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ แดละได้แนะนำชักชวนศรัทธาญาติโยมให้ช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์ สิ่งปลูกสร้างภายในวัดพิ่มขึ้นและยังเป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อทองทิพย์ซึ่งเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ และเชื่อกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ
การเดินทาง จากเวียงป่าเป้า ย้อนกลับขึ้นไปทางเหนือทางหลวงหมายเลข ๑๑๘ (ถนนเชียงใหม่ – เชียงราย) สู่อำเภอแม่สรวย ผ่านปากทางเข้าโรงงานเชียงรายไวน์เนอร์รี่ ศาลสมเด็จพระนเรศวร, โรงพยาบาลแม่สรวย ข้ามสะพานแม่น้ำลาว ตีนสะพานมีซอยเลี้ยวซ้ายเข้าสู่พระธาตุจอมแจ้งอีก ๒oo เมตร รวมระยะทางทั้งสิ้น ๔o กิโลเมตร
ความเชื่อ ในการไหว้ พระธาตุดอยจอมแจ้ง เชื่อกันว่า ถ้าได้กราบไหว้และตั้งจิตอธิฐานท่านจะประสบความสำเร็จและรู้แจ้งเห็นจริง
คำบูชาพระธาตุจอมแจ้ง
อิมัสมิง อะรุนุธคะมะเน
ประภัตตะเคทิตัง ธาตุ เจติยัง
อะหังวันทามิ สะระสา อะหังวันทามิ สัพพะทา
น้ำตกขุนกรณ์จังหวัดเชียงราย
จังหวัดที่มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย ทั้งที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวิติศาสตร์ หรือแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ วันนี้จะขอเชิญ
ชวนพาทุกท่านเดินเท้าเข้าชมวนอุทยานน้ำตกขุนกรณ์ จังหวัดเชียงรายค่ะ
วนอุทยานน้ำตกขุนกรณ์อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงรายประมาณ 33 กิโลเมตร สามารถเดินทางด้วยรถสองแถวประจำทางสาย เชียงราย-บ้านปางริมกรณ์ หรือโดยรถยนต์ส่วนตัวก็ได้ มาตามทางหลวงหมายเลข 1 ประมาณ 13 กิโลเมตรถึงบ้านร่องขุ่น ให้เลี้ยวขวาไปตาม ทางหลวงหมายเลข 1208 ประมาณ 5 กิโลเมตร จนถึงสามแยกบ้านใหม่เลี้ยวขวาเข้าน้ำตกขุนกรณ์ตามทางหลวงหมายเลข 1208 ประมาณ 12 กิโลเมตร ก็จะถึงวนอุทยานน้ำตกขุนกรณ์
วนอุทยานน้ำตกขุนกรณ์มี ได้รับการขนานนามว่าเป็นน้ำตกที่สวยที่สุดและตัวน้ำตกสูงที่สุดในจังหวัดเชียงราย ซึ่งตัวน้ำตกสูงกว่า 70 เมตร น้ำตกใสสะอาดปราศจากตะกอนหินปูน มีน้ำไหลตลอดทั้งปี เดิมชาวบ้านเรียกว่าน้ำตกตาดหมอก ซึ่งคำว่า “ตาด” ในภาษาลาวหมายถึงน้ำตก และคำว่า “หมอก” ก็อาจจะมาจากละอองน้ำที่เกิดจากการไหลของน้ำตกสู่พื้นในระยะทางที่สูงมากค่ะ
วนอุทยานน้ำตกขุนกรณ์ ตั้งอยู่ตำบลแม่กรณ์และตำบลห้วยชมภู อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ลาวฝั่งซ้ายและป่าแม่กกฝั่งขวา มีเนื้อที่ประมาณ 1,000 ไร่ กรมป่าไม้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ.2525 สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหุบเขาล้อมรอบด้วยภูเขาสูงชัน ตอนบนยอดเขาซึ่งเป็นจุดสูงสุดและเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของน้ำแม่กรณ์ ซึ่งประกอบด้วยห้วยต่างๆ คือ ห้วยแม่กรณ์ ห้วยแม่มอญ ห้วยย่าดี ห้วยเลาอ้าย ไหลรวมกันเป็นน้ำแม่กรณ์
ชวนพาทุกท่านเดินเท้าเข้าชมวนอุทยานน้ำตกขุนกรณ์ จังหวัดเชียงรายค่ะ
วนอุทยานน้ำตกขุนกรณ์อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงรายประมาณ 33 กิโลเมตร สามารถเดินทางด้วยรถสองแถวประจำทางสาย เชียงราย-บ้านปางริมกรณ์ หรือโดยรถยนต์ส่วนตัวก็ได้ มาตามทางหลวงหมายเลข 1 ประมาณ 13 กิโลเมตรถึงบ้านร่องขุ่น ให้เลี้ยวขวาไปตาม ทางหลวงหมายเลข 1208 ประมาณ 5 กิโลเมตร จนถึงสามแยกบ้านใหม่เลี้ยวขวาเข้าน้ำตกขุนกรณ์ตามทางหลวงหมายเลข 1208 ประมาณ 12 กิโลเมตร ก็จะถึงวนอุทยานน้ำตกขุนกรณ์
วนอุทยานน้ำตกขุนกรณ์มี ได้รับการขนานนามว่าเป็นน้ำตกที่สวยที่สุดและตัวน้ำตกสูงที่สุดในจังหวัดเชียงราย ซึ่งตัวน้ำตกสูงกว่า 70 เมตร น้ำตกใสสะอาดปราศจากตะกอนหินปูน มีน้ำไหลตลอดทั้งปี เดิมชาวบ้านเรียกว่าน้ำตกตาดหมอก ซึ่งคำว่า “ตาด” ในภาษาลาวหมายถึงน้ำตก และคำว่า “หมอก” ก็อาจจะมาจากละอองน้ำที่เกิดจากการไหลของน้ำตกสู่พื้นในระยะทางที่สูงมากค่ะ
วนอุทยานน้ำตกขุนกรณ์ ตั้งอยู่ตำบลแม่กรณ์และตำบลห้วยชมภู อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ลาวฝั่งซ้ายและป่าแม่กกฝั่งขวา มีเนื้อที่ประมาณ 1,000 ไร่ กรมป่าไม้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ.2525 สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหุบเขาล้อมรอบด้วยภูเขาสูงชัน ตอนบนยอดเขาซึ่งเป็นจุดสูงสุดและเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของน้ำแม่กรณ์ ซึ่งประกอบด้วยห้วยต่างๆ คือ ห้วยแม่กรณ์ ห้วยแม่มอญ ห้วยย่าดี ห้วยเลาอ้าย ไหลรวมกันเป็นน้ำแม่กรณ์
วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2554
วัดพระสิงห์ (พระอารามหลวง) ในจังหวัดเชียงราย
วัดพระสิงห์ (พระอารามหลวง) เป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดเชียงรายมาแต่โบราณ ด้วยในอดีตเคยเป็นที่ประดิษฐาน “พระพุทธสิหิงค์” หรือ “พระสิงห์” พระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองของประเทศไทยมาเป็นเวลากว่า ๒๐ ปี ปัจจุบันวัดพระสิงห์มีสถานภาพเป็นพระอารามหลวงประจำจังหวัดเชียงราย
วัดพระสิงห์ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ มีเนื้อที่ ๔ ไร่ ๒ งาน ๕๒ ตารางวา ตั้งอยู่ที่ถนนสิงหไคล ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย สันนิษฐานกันว่าน่าจะสร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช ๑๙๒๘ ในรัชสมัยของพระเจ้ามหาพรหม พระอนุชาของพระเจ้ากือนา เจ้าเมืองเชียงใหม่ ซึ่งมาครองเมืองเชียงรายระหว่างพุทธศักราช ๑๘๘๘-๑๙๔๓
สาเหตุที่วัดนี้มีชื่อว่า “วัดพระสิงห์” นั้น น่าจะเป็นเพราะครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองของประเทศไทย คือ พระพุทธสิหิงค์ หรือที่เรียกกันในชื่อสามัญว่า “พระสิงห์” ปัจจุบันวัดพระสิงห์เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธสิหิงค์ (หรือพระสิงห์) จำลองศิลปะเชียงแสน ปางมารวิชัย ชนิดสำริดปิดทอง หน้าตักกว้าง ๓๗ เซนติเมตร สูงทั้งฐาน ๖๖ เซนติเมตร
พระพุทธสิหิงค์หรือพระสิงห์ เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของประเทศไทยมาอย่างยาวนาน มีหลักฐานปรากฏในสิหิงนิทานบันทึกไว้ว่า สร้างขึ้นเมื่อราวพุทธศักราช ๗๐๐ ในประเทศลังกา และประดิษฐานอยู่ที่ลังกา ๑,๑๕๐ ปี จากนั้นได้ถูกอัญเชิญมาประดิษฐานยังราชอาณาจักรไทยตามลำดับ ดังนี้
พ.ศ. ๑๘๕๐ ประดิษฐานที่กรุงสุโขทัย ๗๐ ปี
พ.ศ. ๑๙๒๐ ประดิษฐานที่พิษณุโลก ๕ ปี
พ.ศ. ๑๙๒๕ ประดิษฐานที่กรุงศรีอยุธยา ๕ ปี
พ.ศ. ๑๙๓๐ ประดิษฐานที่กำแพงเพชร ๑ ปี
พ.ศ. ๑๙๓๑ ประดิษฐานที่เชียงราย ๒๐ ปี
พ.ศ. ๑๙๕๐ ประดิษฐานที่เชียงใหม่ ๒๕๕ ปี
พ.ศ. ๒๒๕๐ ประดิษฐานที่กรุงศรีอยุธยา ๑๐๕ ปี
พ.ศ. ๒๓๑๐ ประดิษฐานที่เชียงใหม่ ๒๘ ปี
พ.ศ. ๒๓๓๘ ประดิษฐานที่กรุงเทพฯ-ปัจจุบัน
พระประธานในพระอุโบสถวัดพระสิงห์ เป็นพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนสิงห์หนึ่งเนื้อสำรัดปิดทอง ปางมารวิชัย สร้างในสมัยใดไม่ปรากฏ มีหน้าตักกว้าง ๒๐๔ เซนติเมตร สูงทั้งฐาน ๒๘๔ เซนติเมตร ที่ฐานมีอักษรล้านนาจารึกว่า “กุสลา ธมฺมา อกุสลา ธมฺมา อพฺยากตา ธมฺมา” อันหมายถึง ปริศนาธรรมระดับปรมัตถ์ ในทางพระพุทธศาสนาที่ระบุว่า สภาวะธรรมทั้งปวงมี ๓ ประเภท คือ
๑. ธรรมทั้งหลายที่เป็น “กุศล” ก็มี
๒. ธรรมทั้งหลายที่เป็น “อกุศล” ก็มี
๓. ธรรมทั้งหลายที่อยู่นอกเหนือจาก “กุศลและอกุศล” ก็มี
พระอุโบสถเป็นสถาปัตยกรรมแบบล้านนาไทยสมัยเชียงแสน โครงสร้างทำด้วยไม้เนื้อแข็ง สันนิฐานกันว่าสร้างขึ้นเมื่อราวจุลศักราช ๑๒๕๑-๑๒๕๒ (พ.ศ. ๒๔๓๒-๒๔๓๓) ต่อมามีการบูรณปฏิสังขรณ์อีกสองครั้งคือ พ.ศ. ๒๕๐๔ โดยพระครูสิกขาลังการ และ พ.ศ. ๒๕๓๓ โดยพระสุนทรปริยัติวิธาน เจ้าอาวาสวัดพระสิงห์
บานประตูหลวงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ทำด้วยไม้แกะสลัก เป็นปริศนาธรรมระดับปรมัตถ์ ออกแบบโดย อ.ถวัลย์ ดัชนี แกะสลักโดยสล่าอำนวย บัวงาม มีขนาดกว้าง ๒.๔๐ เมตร ยาว ๓.๕๐ เมตร และ หนา ๐.๒ เมตร เป็นเรื่องราวของ ดิน น้ำ ลม ไฟ อันหมายถึงธาตุทั้ง ๔ ที่มีอยู่ในร่างกายคนเราทุกคน
ดิน คือ เนื้อ หนัง กระดูก
น้ำ คือ ของเหลวต่างๆ ที่มีอยู่ในร่างกาย เช่น น้ำ โลหิต ปัสสาวะ
ลม คือ อากาศที่เราหายใจเข้าออก ลมปราณที่ก่อเกื้อให้ชีวิตเป็นไป
ไฟ คือ ความร้อนที่ช่วยในการเผาผลาญอาหารเกิดพลังงาน
โดยถ่ายทอดธาตุทั้ง ๔ ออกเป็นสัญลักษณ์รูปสัตว์ ๔ ชนิด เพื่อการสื่อความหมาย
ช้าง เป็นสัญลักษณ์ของ ดิน
นาค เป็นสัญลักษณ์ของ น้ำ
ครุฑ เป็นสัญลักษณ์ของ ลม
สิงห์โต เป็นสัญลักษณ์ของ ไฟ
พระเจดีย์เป็นสถาปัตยกรรมแบบล้านนาไทย เชื่อว่าสร้างขึ้นในสมัยเดียวกันกับพระอุโบสถ มีการบูรณะใหม่ปี ๒๔๙๒ และบูรณะใหม่ในปี ๒๕๓๓ แต่เดิมทาสีขาว ปัจจุบันทาสีทองเด่นเป็นสง่า ประดิษฐานอยู่ทิศตะวันตกชิดด้านหลังพระอุโบสถ
พระพุทธบาทจำลองจำหลักบนแผ่นศิลาทราย มีขนาดกว้าง ๖๐ เซนติเมตร ยาว ๑๕๐ เซนติเมตร มีจารึกอักษรขอมโบราณว่า “กุสลา ธมฺมา อกุสมา ธมฺมา อพฺยากตา ธมฺมา” ปราชญ์บางท่านสันนิษฐานว่า น่าจะมีมาแต่สมัยพ่อขุนเม็งรายมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งล้านนาไทย
หอระฆังเป็นสถาปัตยะกรรมร่วมสมัยแบบล้านนาไทยประยุกต์ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙ มีระฆังเป็นแบบใบระกาหล่อด้วยทองเหลืองทั้งแท่ง ซึ่งหาดูได้ยากมาในปัจจุบัน ขนาดความสูง ๒๕ นิ้ว ยาว ๓๙ นิ้ว หนา ๑ นิ้ว ขุดพระบริเวณวัดพระสิงห์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๘ ปัจจุบันชั้นล่างใช้เป็นหอกลอง
ต้นพระศรีมหาโพธิ์เป็นไม้มงคลเนื่องในพระพุทธศาสนา คือ เป็นต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าประทับนั่งตรัสรู้เมื่อวันเพ็ญ เดือนวิสาขะ พลโท อัมพร จิตกานนท์ นำมาจากพุทธคยา ประเทศอินเดีย โดยความอนุเคราะห์จากท่านเอกอัครราชทูตอินเดียและอาศรมวัฒนธรรมไทย – ภารตะ เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๖ และปลูกไว้ ณ วัดพระสิงห์ เมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๖
ต้นสาละลังกาเป็นต้นไม้มงคลเนื่องในพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกับต้นศรีมหาโพธิ์ คือ เป็นต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าประทับสำเร็จสีหไสยาสน์เป็นครั้งสุดท้ายก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพาน สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพฯ ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมกิตติโสภณ นำมาจากประเทศศรีลังกา และนำมาปลูกไว้ที่วัดพระสิงห์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒
วัดพระสิงห์ มีเจ้าอาวาสที่บริหารวัดสืบต่อกันมานับแต่ปีที่สร้างวัดจนถึงปัจจุบัน จำนวน ๙ รูป คือ
๑. ครูบาปวร พ.ศ. ๑๙๔๓ – ๑๙๖๒
๒. ครูบาอินทจักรรังษี พ.ศ. ๑๙๖๒ – ๑๙๘๕
๓. พระอธิการอินตา พ.ศ. ๑๙๘๕ - ..........
๔. พระมหายศ พ.ศ. .......................
๕. พระธรรมปัญญา (ป๊อก) พ.ศ. ๒๔๑๓ – ๒๔๔๐
๖. พระครูเมธังกรญาณ (ป๊อก) พ.ศ. ๒๔๔๐ – ๒๔๗๓
๗. พระครูเมธังกรญาณ (ดวงต๋า) พ.ศ. ๒๔๗๓ – ๒๔๘๘
๘. พระครูสิกขาลังการ พ.ศ. ๒๔๘๙ – ๒๕๒๒
๙. พระสุนทรปริยัติวิธาน พ.ศ. ๒๕๒๓ – ปัจจุบัน
วัดพระสิงห์ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ มีเนื้อที่ ๔ ไร่ ๒ งาน ๕๒ ตารางวา ตั้งอยู่ที่ถนนสิงหไคล ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย สันนิษฐานกันว่าน่าจะสร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช ๑๙๒๘ ในรัชสมัยของพระเจ้ามหาพรหม พระอนุชาของพระเจ้ากือนา เจ้าเมืองเชียงใหม่ ซึ่งมาครองเมืองเชียงรายระหว่างพุทธศักราช ๑๘๘๘-๑๙๔๓
สาเหตุที่วัดนี้มีชื่อว่า “วัดพระสิงห์” นั้น น่าจะเป็นเพราะครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองของประเทศไทย คือ พระพุทธสิหิงค์ หรือที่เรียกกันในชื่อสามัญว่า “พระสิงห์” ปัจจุบันวัดพระสิงห์เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธสิหิงค์ (หรือพระสิงห์) จำลองศิลปะเชียงแสน ปางมารวิชัย ชนิดสำริดปิดทอง หน้าตักกว้าง ๓๗ เซนติเมตร สูงทั้งฐาน ๖๖ เซนติเมตร
พระพุทธสิหิงค์หรือพระสิงห์ เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของประเทศไทยมาอย่างยาวนาน มีหลักฐานปรากฏในสิหิงนิทานบันทึกไว้ว่า สร้างขึ้นเมื่อราวพุทธศักราช ๗๐๐ ในประเทศลังกา และประดิษฐานอยู่ที่ลังกา ๑,๑๕๐ ปี จากนั้นได้ถูกอัญเชิญมาประดิษฐานยังราชอาณาจักรไทยตามลำดับ ดังนี้
พ.ศ. ๑๘๕๐ ประดิษฐานที่กรุงสุโขทัย ๗๐ ปี
พ.ศ. ๑๙๒๐ ประดิษฐานที่พิษณุโลก ๕ ปี
พ.ศ. ๑๙๒๕ ประดิษฐานที่กรุงศรีอยุธยา ๕ ปี
พ.ศ. ๑๙๓๐ ประดิษฐานที่กำแพงเพชร ๑ ปี
พ.ศ. ๑๙๓๑ ประดิษฐานที่เชียงราย ๒๐ ปี
พ.ศ. ๑๙๕๐ ประดิษฐานที่เชียงใหม่ ๒๕๕ ปี
พ.ศ. ๒๒๕๐ ประดิษฐานที่กรุงศรีอยุธยา ๑๐๕ ปี
พ.ศ. ๒๓๑๐ ประดิษฐานที่เชียงใหม่ ๒๘ ปี
พ.ศ. ๒๓๓๘ ประดิษฐานที่กรุงเทพฯ-ปัจจุบัน
พระประธานในพระอุโบสถวัดพระสิงห์ เป็นพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนสิงห์หนึ่งเนื้อสำรัดปิดทอง ปางมารวิชัย สร้างในสมัยใดไม่ปรากฏ มีหน้าตักกว้าง ๒๐๔ เซนติเมตร สูงทั้งฐาน ๒๘๔ เซนติเมตร ที่ฐานมีอักษรล้านนาจารึกว่า “กุสลา ธมฺมา อกุสลา ธมฺมา อพฺยากตา ธมฺมา” อันหมายถึง ปริศนาธรรมระดับปรมัตถ์ ในทางพระพุทธศาสนาที่ระบุว่า สภาวะธรรมทั้งปวงมี ๓ ประเภท คือ
๑. ธรรมทั้งหลายที่เป็น “กุศล” ก็มี
๒. ธรรมทั้งหลายที่เป็น “อกุศล” ก็มี
๓. ธรรมทั้งหลายที่อยู่นอกเหนือจาก “กุศลและอกุศล” ก็มี
พระอุโบสถเป็นสถาปัตยกรรมแบบล้านนาไทยสมัยเชียงแสน โครงสร้างทำด้วยไม้เนื้อแข็ง สันนิฐานกันว่าสร้างขึ้นเมื่อราวจุลศักราช ๑๒๕๑-๑๒๕๒ (พ.ศ. ๒๔๓๒-๒๔๓๓) ต่อมามีการบูรณปฏิสังขรณ์อีกสองครั้งคือ พ.ศ. ๒๕๐๔ โดยพระครูสิกขาลังการ และ พ.ศ. ๒๕๓๓ โดยพระสุนทรปริยัติวิธาน เจ้าอาวาสวัดพระสิงห์
บานประตูหลวงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ทำด้วยไม้แกะสลัก เป็นปริศนาธรรมระดับปรมัตถ์ ออกแบบโดย อ.ถวัลย์ ดัชนี แกะสลักโดยสล่าอำนวย บัวงาม มีขนาดกว้าง ๒.๔๐ เมตร ยาว ๓.๕๐ เมตร และ หนา ๐.๒ เมตร เป็นเรื่องราวของ ดิน น้ำ ลม ไฟ อันหมายถึงธาตุทั้ง ๔ ที่มีอยู่ในร่างกายคนเราทุกคน
ดิน คือ เนื้อ หนัง กระดูก
น้ำ คือ ของเหลวต่างๆ ที่มีอยู่ในร่างกาย เช่น น้ำ โลหิต ปัสสาวะ
ลม คือ อากาศที่เราหายใจเข้าออก ลมปราณที่ก่อเกื้อให้ชีวิตเป็นไป
ไฟ คือ ความร้อนที่ช่วยในการเผาผลาญอาหารเกิดพลังงาน
โดยถ่ายทอดธาตุทั้ง ๔ ออกเป็นสัญลักษณ์รูปสัตว์ ๔ ชนิด เพื่อการสื่อความหมาย
ช้าง เป็นสัญลักษณ์ของ ดิน
นาค เป็นสัญลักษณ์ของ น้ำ
ครุฑ เป็นสัญลักษณ์ของ ลม
สิงห์โต เป็นสัญลักษณ์ของ ไฟ
พระเจดีย์เป็นสถาปัตยกรรมแบบล้านนาไทย เชื่อว่าสร้างขึ้นในสมัยเดียวกันกับพระอุโบสถ มีการบูรณะใหม่ปี ๒๔๙๒ และบูรณะใหม่ในปี ๒๕๓๓ แต่เดิมทาสีขาว ปัจจุบันทาสีทองเด่นเป็นสง่า ประดิษฐานอยู่ทิศตะวันตกชิดด้านหลังพระอุโบสถ
พระพุทธบาทจำลองจำหลักบนแผ่นศิลาทราย มีขนาดกว้าง ๖๐ เซนติเมตร ยาว ๑๕๐ เซนติเมตร มีจารึกอักษรขอมโบราณว่า “กุสลา ธมฺมา อกุสมา ธมฺมา อพฺยากตา ธมฺมา” ปราชญ์บางท่านสันนิษฐานว่า น่าจะมีมาแต่สมัยพ่อขุนเม็งรายมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งล้านนาไทย
หอระฆังเป็นสถาปัตยะกรรมร่วมสมัยแบบล้านนาไทยประยุกต์ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙ มีระฆังเป็นแบบใบระกาหล่อด้วยทองเหลืองทั้งแท่ง ซึ่งหาดูได้ยากมาในปัจจุบัน ขนาดความสูง ๒๕ นิ้ว ยาว ๓๙ นิ้ว หนา ๑ นิ้ว ขุดพระบริเวณวัดพระสิงห์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๘ ปัจจุบันชั้นล่างใช้เป็นหอกลอง
ต้นพระศรีมหาโพธิ์เป็นไม้มงคลเนื่องในพระพุทธศาสนา คือ เป็นต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าประทับนั่งตรัสรู้เมื่อวันเพ็ญ เดือนวิสาขะ พลโท อัมพร จิตกานนท์ นำมาจากพุทธคยา ประเทศอินเดีย โดยความอนุเคราะห์จากท่านเอกอัครราชทูตอินเดียและอาศรมวัฒนธรรมไทย – ภารตะ เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๖ และปลูกไว้ ณ วัดพระสิงห์ เมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๖
ต้นสาละลังกาเป็นต้นไม้มงคลเนื่องในพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกับต้นศรีมหาโพธิ์ คือ เป็นต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าประทับสำเร็จสีหไสยาสน์เป็นครั้งสุดท้ายก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพาน สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพฯ ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมกิตติโสภณ นำมาจากประเทศศรีลังกา และนำมาปลูกไว้ที่วัดพระสิงห์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒
วัดพระสิงห์ มีเจ้าอาวาสที่บริหารวัดสืบต่อกันมานับแต่ปีที่สร้างวัดจนถึงปัจจุบัน จำนวน ๙ รูป คือ
๑. ครูบาปวร พ.ศ. ๑๙๔๓ – ๑๙๖๒
๒. ครูบาอินทจักรรังษี พ.ศ. ๑๙๖๒ – ๑๙๘๕
๓. พระอธิการอินตา พ.ศ. ๑๙๘๕ - ..........
๔. พระมหายศ พ.ศ. .......................
๕. พระธรรมปัญญา (ป๊อก) พ.ศ. ๒๔๑๓ – ๒๔๔๐
๖. พระครูเมธังกรญาณ (ป๊อก) พ.ศ. ๒๔๔๐ – ๒๔๗๓
๗. พระครูเมธังกรญาณ (ดวงต๋า) พ.ศ. ๒๔๗๓ – ๒๔๘๘
๘. พระครูสิกขาลังการ พ.ศ. ๒๔๘๙ – ๒๕๒๒
๙. พระสุนทรปริยัติวิธาน พ.ศ. ๒๕๒๓ – ปัจจุบัน
วันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2554
วัดพระแก้ว
วัดพระแก้ว จ. เชียงราย |
พระอารามหลวง วัดที่พบพระแก้วมรกต |
วัดพระแก้ว ตั้งอยู่ที่ถนนไตรรัตน์ ใจกลางเมืองเชียงราย วัดนี้เองที่ได้ค้นพบ พระแก้วมรกต หรือพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ที่ประดิษฐานอยู่ ณ วัดศรีรัตนศาสดาราม(วัดพระแก้ว) กรุงเทพฯ ในปัจจุบัน
ตามประวัติเล่าว่า เมื่อปี พ.ศ. 1897 ในสมัย พระเจ้าสามฝั่งแกน เป็นเจ้าเมือง ครองเชียงใหม่นั้น ฟ้าได้ผ่า เจดีย์ร้างองค์หนึ่ง และได้พบ พระพุทธรูปลงรักปิดทอง อยู่ภายในเจดีย์ ต่อมารักกะเทาะออก จึงได้พบว่า เป็นพระพุทธรูป สีเขียวที่สร้างด้วยหยก ซึ่งก็คือ พระแก้วมรกตนั่นเอง
ปัจจุบันวัดพระแก้ว เชียงราย เป็นที่ประดิษฐาน พระหยก ซึ่งสร้างขึ้นใหม่ ในวาระที่ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระชนมายุครบ 90 พรรษา
ตามรอยพระแก้วมรกต ที่วัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย
วัดพระแก้ว เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ตั้งอยู่ที่ถนนไตรรัตน์ ในตัวเมืองเชียงราย แต่เดิมมีชื่อว่าวัดป่าเยี้ย เยี้ยแปลว่าไม้ไผ่ บริเวณที่ตั้งวัดเป็นป่าไผ่จึงตั้งชื่อตามที่มา
ตามประวัติกล่าว ว่าเจ้ามหาพรหมผู้ครองเมืองเชียงรายเป็นผู้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาจากเมือง กำแพงเพชร ในช่วงเวลานั้นสถานการณ์บ้านเมืองไม่ค่อยจะสู้ดีนักจึงได้พอกปูนทับองค์พระ แก้วมรกตแล้วนำไปบรรจุไว้ในเจดีย์วัดป่าเยี้ย อีก 45 ปีต่อมาเกิดฟ้าผ่าที่องค์เจดีย์ พบพระพุทธรูปลงรักปิดทององค์หนึ่งตกลงมาจากเจดีย์จึงได้อัญเชิญไปไว้วิหาร หลวงได้ 2 เดือน ต่อมาปูนบริเวณพระนาสิก ( จมูก ) กระเทาะออกจึงเห็นเป็นแก้วสีเขียว เจ้าอาวาสได้กระเทาะปูนออกจึงปรากฎเป็นพระแก้วสีเขียวทั้งองค์ ในช่วงเวลานั้นเชียงรายอยู่ภายใต้การปกครองของเชียงใหม่ในยุคสมัยของพระเจ้า สามฝั่งแกน เมื่อทราบข่าวจึงได้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปเมืองเชียงใหม่ รวมระยะเวลาที่พระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่ที่เชียงรายเป็นเวลา 45 ปี วัดป่าเยี้ยที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตจึงถูกเรียกต่อๆ กันมาว่า วัดพระแก้ว
พระอุโบสถวัดพระแก้วในปัจจุบันเป็นที่ประดิษฐานของพระประธาน คนเชียงรายเรียกกันว่า พระเจ้าล้านทอง เป็นพระศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวเชียงรายเคารพนับถือเป็นอันมาก แต่เดิมนั้นประดิษฐานอยู่ที่วัดพระเจ้าล้านทอง ต่อมามีสภาพเป็นวัดร้างจึงได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดดอยงำเมือง และได้อัญเชิญมาประดิษฐานเป็นพระประธานที่วัดพระแก้วเมื่อปี 2504
พระ แก้วหยก เป็นพระพุทธรูปหยกที่คณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชนชาวเชียงรายร่วมกันสร้างขึ้น เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีมีพระชนมายุครบ 90 พรรษา เมื่อวันที่ 21 ต.ค. 2533 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 20 ก.ย. พ.ศ. 2534 ชาวเชียงรายได้อัญเชิญมาประดิษฐาน ณ วัดพระแก้ว เรียกว่า พระหยกเชียงราย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)